ข่าวแจกสื่อ (Press Release): ชุมชนคนข้ามเพศร่วมเรียกร้องการปฏิบัติที่เท่าเทียมและบริการสุขภาพแบบรอบด้าน

Published October 8, 2017
Language Thai

4 เมษายน 2559 – มูลนิธิเอเชียแปซิฟิค ทรานส์เจนเดอร์ เนตเวิร์ค (APTN) ร่วมกับเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย จัดงานเสวนา “หยุดการเลือกปฏิบัติต่อคนข้ามเพศ Demanding Care: Transgender Health Discrimination in Thailand” ณ โรงแรมโนโวเทล เพลินจิต โดยภายในงานมีการเปิดตัววิดีโอ “Demanding Care: Stories of Transgender Healthcare Discrimination in Thailand” ซึ่งรวบรวมประสบการณ์ของคนข้ามเพศ ในการถูกเลือกปฏิบัติ และต่อด้วยการเสวนา “เมื่อคนข้ามเพศถูกละเมิด” โดยคณะวิทยากรที่มีความชำนาญประเด็น คนข้ามเพศร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์

คุณคทาวุธ ครั้งพิบูลย์ ประธานมูลนิธิ APTN และผู้ก่อตั้งเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย เป็นผู้กล่าวเปิดงาน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำงานสุขภาพของคนข้ามเพศควบคู่กับงานด้านสิทธิมนุษยชน ทุกคน รวมถึงคนข้ามเพศ ควรเข้าถึงบริการสุขภาพและสวัสดิการที่ครอบคลุมทุกด้านอย่างเท่าเทียมกัน งานเสวนามีผู้สนใจ เข้าร่วมกว่า คนจากชุมชนคนข้ามเพศ นักกิจกรรม คนทำงานด้านสุขภาพ รวมถึงตัวแทนจากองค์กรภาคี ทั้งไทยและต่างประเทศ

วิดีโอ “Stories of Transgender Healthcare Discrimination in Thailand” รวบรวมเรื่องเล่าของคนข้ามเพศ 16 คนจากพื้นเพที่หลากหลาย ที่ต่างล้วนมีประสบการณ์ถูกกีดกัด ถูกเลือกปฏิบัติเพราะความเป็นคนข้ามเพศ และร่วมกันส่งเสียงเพื่อยุติการเลือกปฏิบัติต่อคนข้ามเพศในทุกมิติ

เวทีเสวนา “เมื่อคนข้ามเพศถูกละเมิด (Trans Discrimination and Legal Protection)” เป็นเวทีร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยคณะวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในประเด็นคนข้ามเพศจากหลายมิติ ได้แก่

*คุณเจษฎา แต้สมบัติ เครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย*

เล่าถึงสถานการณ์การละเมิดสิทธิคนข้ามเพศในประเทศ ซึ่งยังคงเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำแม้จะมีการทำงานสร้าง ความเข้าใจและงานรณรงค์ต่อต้านการกีดกัดและเลือกปฎิบัติด้วยเหตุแห่งเพศสภาพก็ตาม เครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย ทำงานสื่อสารประเด็นคนข้ามเพศผ่านสื่อสาธารณะและโซเชี่ยลมีเดีย รวมถึงการสื่อสารผ่านเวทีวิชาการ/กึ่งวิชาการ ต่างๆ สังคมไทยเข้าใจสิทธิมนุษยชนของคนข้ามเพศมากขึ้นกว่าแต่ก่อนแต่ก็ยังมีการเลือกปฏิบัติอยู่ในหลายพื้นที่ เช่น ศาสนา ต้วเลือกในการทำงาน การศึกษา

*พญ.นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย*

เล่าประสบการณ์การจัดบริการสุขภาพสำหรับหลายกลุ่มประชากรที่ต้องบูรณาการความละเอียดอ่อนเรื่องเพศเข้าไปด้วย สำหรับบริการสุขภาพสำหรับคนข้ามเพศต้องจัดให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะ เช่น การบำบัดด้วยฮอร์โมน การตรวจ 3 ช่องทาง การวางนโยบายสุขภาพสำหรับกลุ่มประชากรใดๆต้องอาศัยกระบวนการรับฟังความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายและแนวปฏิบัตินำไปใช้ได้จริงและผู้รับบริการพึงพอใจ

*คุณฐิติญานันท์ หนักป้อ มูลนิธิซิสเตอร์*

ให้มุมมองต่อการตีตราและเลือกปฏิบัติคนข้ามเพศ ว่าคือการปฏิบัติต่อคนข้ามเพศด้วยความไม่เท่าเทียมบนอคติ แห่งเพศ ช่องว่างของการทำงานสุขภาพคนข้ามเพศกับงานสิทธิคือการแยกทำงานแบบแยกส่วน และคนทำงาน สุขภาพมักให้ความสำคัญกับงานสิทธิเป็นลำดับรองลงมา จากประสบการณ์การทำงานในพื้นที่พัทยา พบว่าการสร้าง ความเข้าใจร่วมกับกับตำรวจ ผู้นำท้องถิ่นและองค์กรของรัฐจะช่วยให้การทำงานสุขภาพกะเทย/สาวประเภทสอง ก้าวหน้ามากขึ้น

*คุณคาณัสนันท์ ดอกพุฒ FTM Bangkok*

แลกเปลี่ยนประสบการณ์การรวมกลุ่มของผู้ชายข้ามเพศ การรวบรวมและเผยแพร่ชุดความรู้ด้านสุขภาพสำหรับ ผู้ชายข้ามเพศ และร่วมงานขับเคลื่อนสิทธิทางเพศในระดับชาติ รวมถึงการสื่อสารสังคมประเด็นผู้ชายข้ามเพศ เพื่อสร้างความเข้าใจและลดอคติ

*อาจารย์รณภูมิ สามัคคีคารมย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์*

เล่าถึงปัญหาการละเมิดคนข้ามเพศที่มีการร้องเรียนเข้ามา เช่น การเกณฑ์ทหาร การถูกปฏิเสธบริการ พรบ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 ได้ให้ความคุ้มครองการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งเพศ โดยมีกลไกรับเรื่องร้องเรียน กลไกการระงับมิให้มีการเลือกปฏิบัติและแนวทางการชดเชยเยียวยาผู้เสียหาย อุปสรรค ของการทำงานต้านการละเมิดสิทธิคนข้ามเพศมีหลายระดับ คนข้ามเพศส่วนใหญ่ไม่รู้สิทธิของตนและเมื่อถูกละเมิด ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร

เวทีเสวนาได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถามวิทยากร และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อประเด็นที่ได้มีการพูด คุยบนเวที รวมถึงเสนอแนวทางเพื่อลด/ยุติการเลือกปฏิบัติต่อคนข้ามเพศ การสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัว เพื่อน ของคนข้ามเพศในการขับเคลื่อนประเด็นสิทธิคนข้ามเพศ และการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนคนข้ามเพศในงาน คุ้มครองสิทธิ

ลิ้งค์วิดีโอ “Stories of Transgender Healthcare Discrimination in Thailand” https://youtu.be/171phOukKAM

ท่านสามารถติดตามกิจกรรมและข่าวสารอื่นๆของมูลนิธิเอเชียแปซิฟิค ทรานส์เจนเดอร์ เนตเวิร์ค (APTN) ได้ทางเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/WeAreAPTN

ติดต่อสอบถามข้อมูล
joe.wong@weareaptn.org